มัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง:หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ความหมายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์( E-Book )
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือที่รู้จักกันในชื่ออีบุ๊ค (eBook หรือ e-Book) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอ คอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์ คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่ว
สำนักบริการคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2543) ได้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ว่า หมายถึง หนังสือที่สามารถเปิดอ่านได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งแบบปาล์มท้อป หรือพ็อกเก็ตคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีที่เน้นเรื่องการพกพาติดตามตัวได้สะดวกเหมือนโทรศัพท์มือถือ ที่เรียกว่า Mobile ทำให้ระบบสื่อสารติดต่อผ่านอินเทอร์เน็ตได้ สามารถโหลดผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องส่งหนังสือ จริง
กลุ่มพัฒนาสื่อเทคโนโลยี ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ (มปป.) ได้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ว่า หมายถึง หนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆได้ สำหรับหนังสือ หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์นี้ จะมีความหมายรวมถึงเนื้อหาที่ถูกดัดแปลง อยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงผลออกมาได้ โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ให้มีลักษณะการนำเสนอที่สอดคล้องและคล้าย คลึงกับการอ่านหนังสือทั่วๆไปในชีวิตประจำวัน แต่จะมีลักษณะพิเศษ คือ สะดวกและรวดเร็ว ในการค้นหา และผู้อ่านสามารถอ่านพร้อมๆกันได้โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายส่งคืนห้องสมุด เช่นเดียวกับหนังสือในห้องสมุดทั่วๆไป
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะแตกต่างจากหนังสือเล่มในการพลิกหน้า โดยที่ไม่ได้มีการพลิกหน้าจริง หากแต่เป็นไปในลักษณะของการซ้อนทับกัน (Barker and singh, 1985) สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับหนังสือเล่มอย่างเด่นชัด นั่นก็คือ การปฏิสัมพันธ์ และความเป็นพลวัต (Barker, 1996 ) ซึ่งอาจจะแตกต่างกันบ้างในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แต่ละเล่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งาน และการปฏิสัมพันธ์จากผู้อ่าน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะเหมือนกับหนังสือเล่มดังภาพประกอบ 2 คือ มีหน้าปกเพื่อบอกข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับหนังสือ หากใน 1 หน้ามีข้อมูลเป็นหน้าคู่ ด้านซ้ายมือเป็นหน้าซ้ายด้านขวามือจะเป็นหน้าขวา กดปุ่มไปหน้าก็จะไปยังหน้าต่อไป กดปุ่มถอยหลังจะกลับไปหน้าก่อน
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หมายถึง รูปแบบของการจัดเก็บและนำเสนอข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นข้อความ ตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงต่าง ๆ ข้อมูลเหล่านี้มีวิธีเก็บในลักษณะพิเศษ นั่นคือ จากแฟ้มข้อมูลหนึ่งผู้อ่านสามารถเรียกดูข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทันที โดยที่ข้อมูลนั้นอาจจะอยู่ในแฟ้มเดียวกัน หรืออาจจะอยู่ในแฟ้มอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลก็ได้ หากข้อมูลที่กล่าวมานี้เป็นข้อความที่เป็นตัวอักษรหรือตัวเลข เรียกว่า ข้อความหลายมิติ (hypertext) และหากข้อมูลนั้นรวมถึงเสียงและภาพเคลื่อนไหวด้วย ก็เรียกว่า สื่อประสมหรือสื่อหลายมิติ (hypermedia) (ครรชิต มาลัยวงศ์, 2540)
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ยังไม่ได้บัญญัติศัพท์ที่ใช้ในภาษาไทยอย่างเป็นทางการ แต่กระนั้นก็ได้มีผู้ให้คำนิยามเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไว้หลายท่าน ด้วยกัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะด้วยกัน คือ ในลักษณะของซอฟท์แวร์ , ฮาร์ดแวร์ และในลักษณะที่เป็นทั้งซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์
1. ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะของซอฟท์แวร์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หมายถึงหนังสือเล่มที่ถูกดัดแปลงให้อยู่ในรูป อิเล็กทรอนิกส์ผู้อ่านสามารถอ่านข้อมูลได้จากจอคอมพิวเตอร์ มีลักษณะข่าวสารเป็นแบบพลวัต หากต้องการปรับปรุงข้อมูลก็สามารถทำได้โดยดึงข้อมูล (Download) มาจากอินเตอร์เน็ต หรือซีดีรอม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีความสามารถในการทำไฮเปอร์เท็กซ์, คนหาข้อความ , ทำหมายเหตุประกอบ และการทำสัญลักษณ์ใจความสำคัญ (พิชญ์ วิมุกตะลพ, 2538 : 214; Barker , 1992 : 139 ; Gates,1995 : 139 ; “What are E- Books?”,1999 : 1; “NetLingo :The Internet Language Dictionary”, 1999 : 1 “High-Tech Dictionary Definition”, 1999 : 1 “Electronic Book”, 1999 : 1; Reynolds and Derose. 2535 : 263, อ้างถึงใน สุชาดา โชคเหมาะ,2539 : 1-2)
2. ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะของฮาร์ดแวร์ ได้มีผู้ให้คำนิยามไว้ดังต่อไปนี้
“TechEncyclopedia” (1999 : 1) กล่าวกันว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นอุปกรณ์ฉบับกระเป๋าซึ่งสามารถแสดงข้อมูลที่อยู่ใน รูปอิเล็กทรอนิกส์ได้ สามารถจัดทำสำเนาได้ ทำบุ๊คมาร์คและทำหมายเหตุประกอบได้ “Electronic Book – Webopedia Definition” (1999 : 1)ได้กล่าวถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในฐานะที่เป็นฮาร์ดแวร์ไว้ในทำนองเดียว กับ TechEncyclopedia โดยได้แบ่งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 2 รูปแบบคือ
รูปแบบที่ 1 คือ ร็อคเก็ตอีบุ๊ค (Rocket Ebook )ของ นูโวมีเดีย เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฉบับกระเป๋า พกพาสะดวกด้วยน้ำหนักเพียง 22 ออนซ์ เก็บข้อมูลได้ถึง 4,000 หน้ากระดาษ การเปิดพลิกหน้าร็อกเก็ตอีบุ๊คให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับการเปิดหนังสือจริง สามารถทำแถบสว่าง (Highlight) , ทำหมายเหตุประกอบ , ค้นหาคำ และสร้างบุ๊คมาร์คได้ หากต้องการปรับปรุงข้อมูลก็สามารถติดต่อไปยังร้านหนังสือหรือเครือข่าย อินเตอร์เน็ต
รูปแบบที่ 2 คือ ซอฟท์บุ๊ค (Softbook) ของซอฟท์บุ๊คเพรส มีลักษณะคล้ายกับ ร็อคเก็ตบุ๊ค มีความจุตั้งแต่ 1,500 ไปจนถึง 1 ล้านหน้ากระดาษ
3. ความหมายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นทั้งซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ ได้มีผู้ให้ ความหมายดังนี้
“What is an E-Book (1999 : 1) ได้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไว้ว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นหนังสือทั้งที่มีและไม่มีตัวจริง โดยมีรูปแบบการอ่าน 3 แนว คือ ดึงข้อมูลออกมาและพิมพ์โดยผู้ใช้งาน,อ่านโดยตรงจากจอคอมพิวเตอร์ และใช้อ่านโดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์อื่นได้แก่ ไลเบรียสมิลลิเนียมอีบุ๊ครีดเดอร์ (Librius Millennium Ebook Reader) , ร็อคเก็ตบุ๊คเป็นต้น
จากความหมายที่กล่าวมาทั้ง 3 ลักษณะ สามารถสรุปได้ว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การนำหนังสือหนึ่งเล่มหรือหลายๆ เล่ม มาออกแบบใหม่ให้อยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ โดยปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่รูปของตัวอักษร, ภาพนิ่ง , ภาพเคลื่อนไหว ,เสียง , ลักษณะที่ตอบโต้กันได้ (interactive) และการเชื่อมโยงแบบไฮเปอร์เท็กซ์ สามารถทำบุ๊คมาร์กและหมายเหตุประกอบตามที่ผู้ใช้ต้องการได้ โดยอาศัยพื้นฐานของหนังสือเล่มเป็นหลัก
ธรรมชาติของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีโครงสร้างเหมือนๆกับหนังสือเล่มทั่วๆไป โดยจะประกอบด้วยหน้าปกหน้า-หลัง , สารบัญ ,เนื้อหาภายในเล่ม และดัชนี เนื้อหาภายในเล่มอาจจะแบ่งออกเป็นบทแต่ละบทมีจำนวนหน้ามากน้อยแตกต่างกันไป ในแต่ละหน้าจะประกอบด้วยตัวอักษร, ภาพนิ่ง , ภาพเคลื่อนไหว ,เสียง (อาจจะแสดงทันทีหรือปรากฎเป็นปุ่มไว้ให้กดเรียกก็ได้)หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตะแตกต่างจากหนังสือเล่มในการพลิกหน้า โดยที่ไม่ได้มีการพลิกหน้าจริง หากแต่เป็นไปในลักษณะของการซ้อนทับกัน (Barker and singh, 1985 quoted in Barker and Manji. 1991 : 276) สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับหนังสือเล่มอย่างเด่นชัด คือ การปฏิสัมพันธ์และความเป็นพลวัต (Barker,1996 : 14) ซึ่งอาจจะแตกต่างกันบ้างในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แต่ละเล่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งาน และการปฏิสัมพันธ์จากผู้อ่าน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะเหมือนกับหนังสือเล่มดังภาพประกอบ คือ มีหน้าปกเพื่อบอกข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับหนังสือ หากใน 1หน้า มีข้อมูลเป็นหน้าคู่ ด้านซ้ายมือเป็นหน้าซ้าย ด้านขวามือจะเป็นหน้าขวา กดปุ่มไปหน้าก็จะไปยังหน้าต่อไป กดปุ่มถอยหลังจะกลับไปหน้าก่อน นอกจากนี้ยังสามารถกระโดดข้ามไปยังหน้าที่ผู้อ่านต้องการได้อีกด้วย หน้าสุดท้ายจะเป็นหน้าก่อนออกจากโปรแกรม ถึงแม้ว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะคล้ายกับหนังสือเล่มมากแต่ข้อจำกัดที่มี อยู่มากมายในหนังสือเล่มไม่สามารถส่งอิทธิพลมายังหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แต่ อย่างใด
ลักษณะของอีบุ๊ค หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
อีบุ๊คจะเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ประเภท หนึ่ง ในยุคแรกๆ จะเป็นไฟล์แบบ PDF โดยเนื้อหาในไฟล์จะมีลักษณะเหมือนหนังสือจริงๆ ซึ่งจะใช้ในกระบวนการทำเพลท ยิงฟิล์ม ด้วยความที่มีลักษณะเหมือนหนังสือจริงๆ แต่เป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ ต้องเปิดอ่านจากหน้าจอ คอมพิวเตอร์ จึงเป็นที่มาของ eBook? อีบุ๊คในปัจจุบันมีหลายแบบ ตามแต่จุดประสงค์ในการใช้งาน เมื่ออีบุ๊คเป็นไฟล์เอกสารประเภทหนึ่ง จึงสะดวกในการพกพา จำหน่าย จ่ายแจก สามารถรับส่ง ดาวน์โหลดผ่านอินเตอร์เน็ตได้ ก็อปปี้ไปใช้งานระหว่างเครื่องได้
โครงสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book Construction)
ลักษณะโครงสร้างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีความคล้ายคลึงกับหนังสือ ทั่วไปที่พิมพ์ด้วยกระดาษ หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือกระบวนการผลิต รูปแบบ และวิธีการอ่านหนังสือสรุปโครงสร้างทั่วไปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย
• หน้าปก (Front Cover)
• คำนำ (Introduction)
• สารบัญ (Contents)
• สาระของหนังสือแต่ละหน้า (Pages Contents)
• อ้างอิง (Reference)
• ดัชนี (Index)
• ปกหลัง (Back Cover)
หน้าปก หมายถึง ปกด้านหน้าของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนแรก เป็นตัวบ่งบอกว่าหนังสือเล่มนี้ชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
คำนำ หมายถึง คำบอกกล่าวของผู้เขียนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล และเรื่องราวต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้น
สารบัญ หมายถึง ตัวบ่งบอกหัวเรื่องสำคัญที่อยู่ภายในเล่มว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง อยู่ที่หน้าใดของหนังสือ สามารถเชื่อมโยงไปสู่หน้าต่างๆ ภายในเล่มได้
สาระของหนังสือแต่ละหน้า หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญในแต่ละหน้า ที่ปรากฏภายในเล่ม ประกอบด้วย
• หน้าหนังสือ (Page Number)
• ข้อความ (Texts)
• ภาพประกอบ (Graphics) .jpg, .gif, .bmp, .png, .tiff
• เสียง (Sounds) .mp3, .wav, .midi
• ภาพเคลื่อนไหว (Video Clips, flash) .mpeg, .wav, .avi
• จุดเชื่อมโยง (Links)
• หน้าปก (Front Cover)
• คำนำ (Introduction)
• สารบัญ (Contents)
• สาระของหนังสือแต่ละหน้า (Pages Contents)
• อ้างอิง (Reference)
• ดัชนี (Index)
• ปกหลัง (Back Cover)
หน้าปก หมายถึง ปกด้านหน้าของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนแรก เป็นตัวบ่งบอกว่าหนังสือเล่มนี้ชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
คำนำ หมายถึง คำบอกกล่าวของผู้เขียนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล และเรื่องราวต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้น
สารบัญ หมายถึง ตัวบ่งบอกหัวเรื่องสำคัญที่อยู่ภายในเล่มว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง อยู่ที่หน้าใดของหนังสือ สามารถเชื่อมโยงไปสู่หน้าต่างๆ ภายในเล่มได้
สาระของหนังสือแต่ละหน้า หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญในแต่ละหน้า ที่ปรากฏภายในเล่ม ประกอบด้วย
• หน้าหนังสือ (Page Number)
• ข้อความ (Texts)
• ภาพประกอบ (Graphics) .jpg, .gif, .bmp, .png, .tiff
• เสียง (Sounds) .mp3, .wav, .midi
• ภาพเคลื่อนไหว (Video Clips, flash) .mpeg, .wav, .avi
• จุดเชื่อมโยง (Links)
อ้างอิง หมายถึง แหล่งข้อมูลที่ใช้นำมาอ้างอิง อาจเป็นเอกสาร ตำรา หรือ เว็บไซต์ก็ได้
ดัชนี หมายถึง การระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่างๆ ที่อยู่ภายในเล่ม โดยเรียงลำดับตัวอักษรให้ สะดวกต่อการค้นหา พร้อมระบุเลขหน้าและจุดเชื่อมโยง
ปกหลัง หมายถึง ปกด้านหลังของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนท้ายเล่ม
ดัชนี หมายถึง การระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่างๆ ที่อยู่ภายในเล่ม โดยเรียงลำดับตัวอักษรให้ สะดวกต่อการค้นหา พร้อมระบุเลขหน้าและจุดเชื่อมโยง
ปกหลัง หมายถึง ปกด้านหลังของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนท้ายเล่ม
การเปรียบเทียบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั้ง 3 ประเภทคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพนิ่ง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพเคลื่อนไหว และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียจัดเป็นพื้นฐานของหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่มีอยู่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 2 ชนิดแรกสนับสนุนคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนรู้ (Computer – Assisted Learning) ส่วนชนิดสุดท้ายเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สนับสนุนสิ่งแวดล้อมการเรียน รู้แบบปฎิสัมพันธ์ เพื่อสนับสนุนการเรียนแบบค้นพบของคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนรู้ ซึ่งแต่ละประเภทมีรายละเอียดดังนี้
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพนิ่ง (Static Picture Books)
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพนิ่งเป็นการรวบรวมภาพที่เกี่ยวข้องกันเอาไว้ด้วย กันตามแต่จุดประสงค์ใดๆ ก็ตามที่ผู้ผลิตต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ใช้ประกอบการสอน เป็นต้น โมเดลคำนิยามของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพนิ่งมีดังภาพประกอบ 3 อันประกอบด้วย ปกหน้า,กลุ่มภาพนิ่ง,และปกหลัง ภาพนิ่งนี้อาจเป็นภาพจากวิดีโอ,ซีดีรอม หรือจากที่อื่นๆ ก็ได้ ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพนิ่งคือ ขาดโครงสร้างของบท แต่หากจะให้มีก็สามารถทำได้ไม่ยากโดยเก็บรวบรวมภาพที่มีลักษณะแนวเดียวกัน เช่น หัวข้อเกี่ยวกับสัตว์ ซึ่งเป็นบทที่อยู่ตามลำพังไม่ขึ้นกับบทอื่น ใช้รวบรวมสัตว์พวกแมว,หมา,นก และสัตว์อื่นๆ สิ่งสำคัญสำหรับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพนิ่ง คือ ต้องมีการควบคุททรงเลือกที่หลากหลายแทนลูกศรในโมเดลของมันซึ่งอาจควบคุม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งเล่มหรือเป็นบางตอนก็ได้
2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพเคลื่อนไหว (Moving Picture Book)
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพเคลื่อนไหวเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนึ่งซึ่ง บรรจุภาพเคลื่อนไหวไว้มากว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวเหล่านี้อาจมาจากคอมพิวเตอร์หรือสื่อจากสื่ออื่น เช่น วิดีโอหรือซีดีรอม ภาพจะมีการนำเสนออย่างไรขึ้นอยู่กับอัตราที่ตั้งไว้ อาจนำเสนออย่างรวดเร็ว, ช้าหรือปกติก็ได้ โมเดลคำนิยามของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพเคลื่อนไหวมีดังภาพประกอบ 4 ภาพเคลื่อนไหวเป็นการแสดงชุดของภาพที่มีลักษณะคล้ายกันต่อเนื่องกันอย่างรวด เร็ว โมเดลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดนี้เหมือนกับโมเดลของหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ภาพนิ่ง โดยจะมีปกหน้าและปกหลัง ตรงกลางจะประกอบด้วยโครงสร้างของบทที่มีลักษณะเหมือนกันดังภาพประกอบ 1 แต่ละบทจะประกอบด้วย ภาพจำนวยมากซึ่งเรียงลำดับตามหัวข้อหรือเนื้อเรื่อง ถ้าต้องการแบ่งเป็นหมวดหมู่หรือย่อยไปกว่านั้นก็สามารถกำหนดให้เพิ่มขึ้นได้ อีกในโครงสร้าง ความมีการควบคุมทางเลือกที่หลากหลายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพเคลื่อนไหว โดยสามารถเล่น,หยุดดู,ถอยหลัง,ไปหน้าได้ ตามที่ผู้อ่านต้องการด้วย
3.หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย (Multi – Media Books)
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียประกอบด้วยตัวอักษร เสียงและภาพรวมกัน โครงสร้างหน้าของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียมีดังภาพประกอบ 1 ในส่วนที่แรเงาในภาพนำเสนอตัวอักษร เสียง และภาพตามที่ผู้ใช้เลือก ภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียอาจเป็นภาพธรรมดาที่มีเอฟเฟค หรือภาพเคลื่อนไหวก็ได้ ในหนึ่งหน้าจอ จะประกอบไปด้วยหลายๆส่วนดังภาพประกอบ 5 ได้แก่ ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพวิดีโอ กรอบโต้ตอบระหว่างผู้อ่านกับคอมพิวเตอร์ในหน้านี่อาจใส่เสียงด้วย โดยอาจใส่ไว้ในรูปของปุ่มเพื่อให้ผู้เรียนเลือกใช้
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หลายๆ ประเภท รวมทั้งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียจะได้รับความสะดวกสลายจากตัวจัดการ ซ้อนทับ (Overlay Manager) หน้าจอทั้งหมดที่ผู้ใช้มองเห็นเกิดจากการรวมตัวของแต่ละหน้าจอทางตรรกะวิทยา (Logical Screen) ที่มีอยู่ โดยแต่ละหน้าจอจะมีภาพพื้นฐานเป็นภาพหลัก ตัวซ้อนทับ 1,2,3 และ 4 จะปรากฎขึ้นเอง หรือต้องอาศัยการกดปุ่มช่วยขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบโปรแกรมว่าจะออกแบบไว้อย่าง ไร ตัวจัดการการซ้อนทับมีประโยชน์ต่อการรวบรวม การควบคุมโครงสร้าง และการที่จะเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย จะต้องอาศัยพื้นฐานโมเดลตัวจัดการซ้อนทับ (Overlay Model) ด้วย
ข้อดีและข้อจำกัดของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( e-Book)
ข้อดีของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีดังต่อไปนี้
1.เป็นสื่อที่รวมเอาจุดเด่นของสื่อแบบต่างๆ มารวมอยู่ในสื่อตัวเดียว คือ สามารถแสดงภาพ แสง เสียงภาพเคลื่อนไหวและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้
2 .ช่วยให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาวิชาได้เร็วขึ้น
3.ครูสามารถใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในการชักจูงผู้เรียนในการอ่าน,การเขียน,การฟังและการพูดได้
4.มีความสามารถในการออนไลน์ผ่านเครือข่ายและเชื่อมโยงไปสู่โฮมเพจและ เว็บไซต์ต่างๆอีกทั้งยังสามารถอ้างอิงในเชิงวิชาการได้
5. หากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรืออินทราเน็ตจะทำให้การกระจายสื่อทำได้อย่างรวดเร็ว และกว้างขว้างกว่าสื่อที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์(“หนังสือพิมพ์ออนไลน์นวัตกรรม แห่งสื่ออนาคต
6. สนับสนุนการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนห้องสมุดเสมือนและห้องสมุด อิเล็กทรอนิกส์
7. มีลักษณะไม่ตายตัว สามารถแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา อักทั้งยังสามารถเชื่อมโยงไปสู่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้โดยใช้ความสามารถของ ไฮเปอร์เท็กซ์
8. ในการสอนหรืออบรมนอกสถานที่ การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะช่วยให้เกิดความคล่องตัวยิ่งขึ้นเนื่องจาก สื่อสามารถสร้างเก็บไว้ในแผ่นซีดีได้ไม่ต้องหอบหิ้วสื่อซึ่งมีจำนวนมมาก
9. การพิมพ์ทำได้รวดเร็วกว่าแบบใช้กระดาษ สามารถทำสำเนาได้เท่าที่ต้องการ ประหยัดวัสดุในการสร้างสื่ออีกทั้งยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย
10. มีความทนทาน และสะดวกต่อการเก็บบำรุงรักษา ลดปัญหาการจัดเก็บเอกสารย้อนหลังซึ่งต้องใช้เนื้อที่หรือบริเวณกว้างกว่าใน การจัดเก็บ สามารถรักษาหนังสือหายากและต้นฉบับเขียนไม่ให้เสื่อมคุณภาพ
11. ช่วยให้นักวิชาการและนักเขียนสามารถเผยแพร่ผลงานเขียนได้อย่างรวดเร็ว
ข้อจำกัดของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีดังต่อไปนี้
1.คนไทยส่วนใหญ่ยังคงชินอยู่กับสื่อที่อยู่ในรูปกระดาษมากกว่า(“หนังสือ พิมพ์ออนไลน์นวัตกรรมสื่อแห่งอนาคน “,2541: 60) อีกทั้งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยังไม่สมารถใช้งานได้ง่ายเมื่อเทียบกับสื่อ สิ่งพิมพ์ และความสะดวกในการอ่านก็ยังน้อยกว่ามาก
2.หากโปรแกรมสื่อมีขนาดไฟล์ใหญ่มากๆจะทำให้การเปลี่ยนหน้าจอมีความล่าช้า
3.การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดี ผู้สร้างต้องมีความรู้ และความชำนาญในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และการสร้าง สื่อดีพอสมควร
4.ผู้ใช้สื่ออาจจะไม่ใช่ผู้สร้างสื่อฉะนั้นการปรับปรุงสื่อจึงทำได้ยากหากผู้สอนไม่มีความรู้ด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์
5.ใช้เวลาในการออกแบบมาก เพราะต้องใช้ทักษะในการออกแบบเป็นอย่างดีเพื่อให้ได้สื่อที่มีคุณภาพ
แนวโน้มของ E-Book ในอนาคต
ในประเทศไทย E-Book มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นในอนาคต โดยคาดการณ์ว่าในอนาคตจะมีการเติบโตมากขึ้นถึง 50% เพราะเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ทำให้การเข้าถึง E-Book สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกและรวดเร็วทันต่อความต้องการของผู้ใช้จากทั่ว โลก โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อาจกล่าวได้ว่าในทุกวันนี้ E-Book ได้รับความสนใจของผู้คนทั่วไปในทุกสาขาอาชีพโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกับหนังสือ ส่วนบริษัทผู้จัดจำหน่ายฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับ E-Book ได้แต่หวังให้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ราคาถูกลง เพราะหากเป็นอย่างนั้น ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้อ่านจะหันมาสนใจอ่าน E-Book มากขึ้น อย่างไรก็ตามไม่สามารถคาดเดาได้ว่า ในอนาคตตลาดของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเช่นไร E-Book จะแทนที่หนังสือตัวเล่มได้หรือไม่ เมื่อไร และจะสามารถเอาชนะใจหนอนหนังสือทั้งหลายได้หรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับพัฒนาการหรือการคิดค้นรูปแบบใหม่ เช่น พัฒนา E-Book เพื่อผู้อ่านกลุ่มอื่น ได้แก่ ผู้พิการหรือคนสูงอายุ โดยอาจจัดทำเป็นรูปแบบหนังสือเสียงหรืออื่นๆ เพื่อเปิดโอกาสให้พวกเขามีได้สัมผัสเรื่องราวต่างๆ ได้เท่าเทียมกับคนในสังคม เป็นต้น และการแก้ปัญหาเกี่ยวกับความสะดวกในการอ่านให้มากขึ้น รวมถึงลิขสิทธิ์ต่างๆ การที่จะทำให้นักอ่านทั้งหลายเล็งเห็นถึงสิ่งที่น่าสนใจในการเปลี่ยนแปลงของ E-Book มากขึ้นนั้น คงต้องใช้เวลาในการยอมรับพอสมควร
สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับ มัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง:หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
หนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆได้ สำหรับหนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์นี้จะมีความหมายรวมถึงเนื้อหาที่ถูกดัดแปลงอยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงผลออกมาได้โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ แต่ก็ให้มีลักษณะการนำเสนอที่สอดคล้องและคล้ายคลึงกับการอ่านหนังสือทั่วๆไปในชีวิตประจำวันแต่จะมีลักษณะพิเศษ คือ สะดวกและรวดเร็วในการค้นหาและผู้อ่านสามารถอ่านพร้อมๆ กันได้โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายส่งคืนห้องสมุดเช่นเดียวกับหนังสือในห้องสมุดทั่วๆ ไป
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือที่รู้จักกันในชื่ออีบุ๊ค (eBook หรือ e-Book) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
ดังนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หมายถึง รูปแบบของการจัดเก็บและนำเสนอข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นข้อความ ตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียงต่าง ๆข้อมูลเหล่านี้มีวิธีเก็บในลักษณะพิเศษนั่นคือ จากแฟ้มข้อมูลหนึ่งผู้อ่านสามารถเรียกดูข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทันที โดยที่ข้อมูลนั้นอาจจะอยู่ในแฟ้มเดียวกันหรืออาจจะอยู่ในแฟ้มอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลก็ได้ หากข้อมูลที่กล่าวมานี้เป็นข้อความที่เป็นตัวอักษรหรือตัวเลข เรียกว่า ข้อความหลายมิติ (hypertext) และหากข้อมูลนั้นรวมถึงเสียงและภาพเคลื่อนไหวด้วยก็เรียกว่า สื่อประสมหรือสื่อหลายมิติ
สมาชิก
1. นางสาวยศวดี สุทธหลวง รหัส 538989004
2. นางณัฏฐ์ชุดา จอมแก้ว รหัส 538989006
3. นางสาวธีรดา สมพะมิตร รหัส 538989007
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น