วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สรุปงานกลุ่มที่ 1 แผนแม่บท ICT แห่งชาติฉบับที่ 2

แผนแม่บท ICT แห่งชาติฉบับที่ 2
สรุปผลการวิเคราะห์สถานภาพด้าน ICT ของประเทศไทย
                การวิเคราะห์สถานภาพทางด้าน ICT ของประเทศไทย ซึ่งได้จากการวัดจากดัชนีมาตรฐานต่าง ๆ และการทำ SWOT เป็นต้น ซึ่งสรุปออกมาได้ 5 ประเด็นดังต่อไปนี้
1.       สถานภาพด้านโครงสร้างพื้นฐาน - ผลการวิเคราะห์พบว่า ประเทศไทยไม่มีปัญหาด้านการพัฒนาโครงข่ายหลัก (Backbone Network) แต่ปัญหาอยู่ที่โครงข่ายระดับปลายทาง (Last Mile Access) ที่ไม่เพียงพอ ไม่ครอบคลุม และด้อยคุณภาพ ซึ่งเป็นผลให้พื้นที่ห่างไกลและกลุ่มคนบางกลุ่มเช่น ผู้พิการ ผู้สูงอายุ เป็นต้น ยังไม่สามารถเข้าใช้งานได้ดีนัก ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบการเข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสารดั้งเดิมเช่น โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น (แผนแม่บทใช้คำว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศ)
2.       สถานภาพของประชาชนทั่วไป - ผลการวิเคราะห์พบว่า คนไทยมีการใช้ ICT ในระดับต่ำ ส่วนผู้ที่เข้าถึง ICT แล้วนั้นก็ยังไม่ใช้ ICT ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง กล่าวคือใช้เพื่อความบันเทิงเป็นหลัก อีกทั้งมีการใช้งาน ICT ที่ไม่เหมาะสมอยู่มาก ซึ่งดูได้จากปริมาณของเนื้อหาที่ไม่พึงประสงค์ และอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ที่มีเป็นจำนวนมาก
3.       สถานภาพด้านบุคลากรทาง ICT - ยังขาดบุคลากรทางด้าน ICT อีกมาก ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ
4.       สถานภาพด้านบุคลากรในภาครัฐ - ก็ยังขาดบุคลากรทางด้าน ICT ทั้งคุณภาพและปริมาณเช่นกัน โดยเน้นด้วยว่าเกิดจากผลตอบแทนต่ำและขาดแรงจูงใจที่เหมาะสม
5.       สถานภาพด้านการบริการจัดการ - ประเทศไทยมีหน่วยงานทางด้าน ICT เป็นจำนวนมากพอสมควร แต่มีการทำงานที่ซ้ำซ้อน ต่างคนต่างทำ ไม่เป็นเอกภาพ ไม่ว่าจะเป็นด้านการวางแผน การกำกับดูแล การจัดการงบประมาณ เป็นต้น เป็นผลให้งานต่าง ๆ ขาดการบูรณาการ ขาดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และขาดการประเมินผลและติดตามผลอย่างจริงจัง
วิสัยทัศน์
ประเทศไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา (Smart Thailand) ด้วย ICT
                วิสัยทัศน์ คือ จินตนาการของสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่เราทำตามแผนแม่บทนี้ คำสำคัญอยู่ที่วลีที่ว่า       ด้วย ICT วลีนี้สะท้อนให้เห็นความต้องการที่จะให้ ICT เข้าไปแทรกอยู่ในทุกภาคส่วนของสังคมทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ดังนั้นสิ่งที่แผนนี้อยากให้เกิดขึ้นคือ สังคมของเราจะเป็นสังคมที่แข็งแกร่ง อุดมปัญญาและอุดมไปด้วยการใช้งาน ICT อย่างมีวิจารณญาณ รู้เท่าทัน ชาญฉลาด และให้เกิดประโยชน์สูงสุด
พันธกิจ
  • พัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอ ทั้งบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Professionals) และบุคลากรในสาขาอาชีพอื่น ๆ ทุกระดับ ที่มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ มีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมและเศรษฐกิจฐานความรู้และนวัตกรรมอย่างยั่งยืนและมั่นคง
  • พัฒนาโครงข่ายสารสนเทศและการสื่อสารความเร็วสูงที่มีการกระจายอย่างทั่วถึง มีบริการที่มีคุณภาพ และราคาเป็นธรรม เพื่อให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศหลักที่ทุกภาคส่วนสามารถใช้ในการเข้าถึงความรู้ สร้างภูมิปัญญา และภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมสามารถใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ภาคเศรษฐกิจของประเทศ
  • พัฒนาระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทีมมีธรรมาภิบาล โดยมีกลไก กฎระเบียบ โครงสร้างการบริหารและกำกับดูแล ที่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างบูรณาการ มีความเป็นเอกภาพ มีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อสนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลในระบบบริหารจัดการประเทศ สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                พันธกิจคือภารกิจหลักที่ต้องทำ เป็นหัวข้อกว้าง ๆ เพื่อกำหนดกรอบเป็นหลักในการพัฒนา โดยสรุปแล้วแผนแม่บทฉบับนี้ก็จะมุ่งเน้นการพัฒนาสามด้านหลักได้แก่ คน  โครงข่าย และการจัดการ
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Professional) ให้มีปริมาณและคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด และบุคลากรในสาขาอาชีพต่าง ๆ ทุกระดับ รวมถึงประชาชนทั่วไป ให้มีความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์ พัฒนา และใช้ ICT อย่างมีประสิทธิภาพ มีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน เพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศไทยสู่สังคมและเศรษฐกิจฐานความรู้และนวัตกรรมอย่างยั่งยืนและมั่นคง
  • เพื่อสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยใช้แนวปฏิบัติของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เน้นความมีเอกภาพ การบูรณาการ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการจัดสรรผลประโยชน์จากการพัฒนาสู่ประชาชนในทุกภาคส่วนอย่างเป็นธรรม โดยใช้กลไกความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public-Private Partnership) อย่างเหมาะสม
  • เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างการผลิตสู่การเพิ่มคุณค่า (Value Creation) ของสินค้าและบริการบนฐานความรู้และนวัตกรรม โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและปัจเจกบุคคล โดยการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ ในกิจการของครัวเรือนและชุมชน รวมถึงในการแสวงหาความรู้ สร้างภูมิปัญญาการมีส่วนร่วมในระบบการเมืองการปกครอง และในการดำรงชีวิตประจำวัน เพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเองและลดปัญหาความยากจน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ
  • เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเน้นการเพิ่มมูลค่าเพิ่ม (Value-Added) ในประเทศ การวิจัยและพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมไทย และเอกลักษณ์ของคนไทย เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสู่สังคมและเศรษฐกิจฐานความรู้และนวัตกรรมอย่างยั่งยืน
                โดยสรุปก็คือเน้นไปที่การพัฒนาความเข็งแกร่งทางด้าน ICT ให้กับ คน สังคม และธุรกิจ
เป้าหมาย
                    เป้าหมายก็คือ สิ่งที่เป็นตัววัดว่าต้องทำเท่าใดจึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จ สรุปจากดัชนีทั้งสามก็คือ จำนวนผู้ใช้งานที่มีคุณภาพ อันดับในดัชนีชี้วัด และสัดส่วนในอุตสาหกรรม ICT ต่อ GDP ของประเทศ


    สรุปแผนยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ด้าน
                    จากผลการวิเคราะห์สถานภาพของ ICT ในส่วนแรก และนำมาสู่การตั้งวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ซึ่งเป็นกรอบกว้าง ๆ ของแนวทางที่จะทำ ซึ่งต้องนำมาแตกออกเป็นยุทธศาสตร์ย่อยอีกเพื่อให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ แผนแม่บทฉบับนี้ได้กำหนดยุทธศาสตร์ทั้งหมด 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
    1.       การพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน
    2.       การบริหารจัดการระบบ ICT ระดับชาติอย่างมีธรรมาภิบาล
    3.       การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    4.       การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารและการบริการของภาครัฐ
    5.       ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ
    6.       การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
    โดยแต่ละยุทธศาสตร์มีรายละเอียดโดยสรุปดังต่อไปนี้
    ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน

                    สถานศึกษาควรให้ความสำคัญและส่งเสริม สนับสนุน ด้าน ICT  ให้กับบุคลากรในโรงเรียน เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเรียนการสอน
    ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารจัดการระบบ ICT ระดับชาติอย่างมีธรรมาภิบาล
    ยุทธศาสตร์ที่ 2 นี้เน้นที่กลไกการบริหารจัดการ ICT ของรัฐ อัน
    นอกจากนี้ยังรวมถึงการปรับปรุงจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวข้องกับ ICT ให้เน้นที่ความคุ้มค่าของงานมากกว่าราคาเพียงอย่างเดียว
    ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    ยุทธศาสตร์นี้มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างทาง ICT ของประเทศในด้านต่าง ๆ
                    ยุทธศาสตร์นี้ระบุทิศทางให้สถานศึกษาพัฒนาโครงข่าย เน้นไปที่การศึกษา ในการสร้างหรือขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ต
    ยุทธศาสตร์ที่ 4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารและการบริการของภาครัฐ

    รัฐบาลมีการสร้างเครือข่ายถึง สพฐ  สพท และโรงเรียน เพื่ออำนวยความสะดวก ในการเก็บข้อมูล เพิ่มศักยภาพในการให้บริการ
    ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ
    ยุทธศาสตร์นี้มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถและความแข้มแข็งของอุตสาหกรรม ICT ของประเทศ

    ยุทธศาสตร์ที่ 6 การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
    ยุทธศาสตร์นี้ส่งเสริมภาคการผลิตต่าง ๆ ให้สามารถนำ ICT มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน มาตรการต่าง ๆ ของยุทธศาสตร์นี้

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น