วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การออกแบบหลักสูตร และการเรียนการสอนอิงมาตรฐานการเรียนรู้

การออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนนั้น ผู้สอน
ต้องศึกษาวัตถุประสงค์ของท้องถิ่นชุมชน วิเคราะห์ความต้องการและความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่น
สถานศึกษา รวมถึงวิธีการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
แกนกลางฯ ผู้สอนอาจเริ่มต้นจากการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนด หรือโดยการกำหนด
หัวข้อที่เป็นประเด็นปัญหาที่น่าสนใจ และมีคุณค่าแก่การเรียนรู้ของผู้เรียน หรือเริ่มจากเนื้อหาในบทเรียนที่มี
อยู่เดิม แล้วเชื่อมโยงหัวข้อความรู้จากบทเรียนนั้นๆ ว่าสอดคล้องกับมาตรฐานตัวชี้วัดข้อใดบ้าง
ปัจจุบันนิยมออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบ Backward Design ซึ่งเป็นการออกแบบหลักสูตร
ที่มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนไปสู่มาตรฐานตัวชี้วัดค่อนข้างชัดเจน โดยยึดเอาผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการให้เกิด
ขึ้นกับผู้เรียนตามมาตรฐานตัวชี้วัดเป็นตัวตั้ง จึงต้องเริ่มจากการวิเคราะห์มาตรฐานตัวชี้วัด เพื่อกำหนดเป็น
เป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ก่อน แล้วจึงกำหนดชิ้นงานที่ต้องการให้ผู้เรียนปฏิบัติ พร้อมทั้งกำหนดเกณฑ์
ในการประเมินผลงาน แล้วจึงกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกันตามลำดับ การออกแบบการ
เรียนรู้แบบ Backward Design จึงเป็นการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีเป้าหมายชัดเจน และผู้สอน
ต้องสามารถวางแผนดำเนินการพัฒนาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจจริง
3.1 ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้
การออกแบบการเรียนรู้เป็นหลักฐานร่องรอยในการประเมินความสามารถของครูผู้สอนว่า ครู
ได้จัดการเรียนรู้ตรงกับเจตจำนงที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.
2545)และสอดคล้องกับหลักการของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 หรือไม่ จึงเป็น
ภารกิจสำคัญของครูในการเริ่มต้นพัฒนาวิชาชีพ เพื่อเข้าสู่การมีและเลื่อนวิทยฐานะทุกระดับ การออกแบบ
จัดทำหน่วยการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนจึงเป็นภาระงานที่ต้องกระทำอย่างรอบคอบ ตามขั้นตอน
ต่อไปนี้
1. วิเคราะห์สาระมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดชั้นปี
2. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
3. จัดทำสาระการเรียนรู้
4. จัดทำคำอธิบายรายวิชา
6. วางแผนจัดการเรียนรู้
5. กำหนดหน่วยการเรียนรู้
วิเคราะห์ผลกาเรียนรู้
ของผู้เรียนเพื่ปรับปรุง
หลักสูตรและระบบ
ประกันคุณภาพ
ภายในโรงเรียน
จัดทำโครงการสอน
และออกแบบ
กิจกรรมการเรียนรู้
ตามแนวคิด
Backward Design
3.2 องค์ประกอบของการออกแบบการเรียนรู้
การออกแบบการเรียนรู้ เป็นภาระงานที่ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถในการพัฒนา
ระบบการเรียนการสอนโดยเลือกใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ (Leaning theory) และทฤษฎีการสอน (Instructional
theory) เป็นแนวทางจัดการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการเรียนรู้และความต้องการของผู้เรียน รวมทั้ง
การพัฒนาสื่อประกอบการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ และการวัด
ประเมินผลกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดขึ้นทั้งหมด โดยใช้วิธีการวิจัยเป็นเครื่องมือพัฒนาเทคนิควิธีการ
จัดการเรียนรู้แบบต่างๆ ให้มีคุณภาพตามเจตจำนงของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไข
เพิ่มเติม พ.ศ. 2545 ที่กำหนดในมาตรา 6 ความว่า
“… การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี
ความสุข”
ครูผู้สอนจึงต้องพัฒนาระบบการเรียนการสอนและการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตาม
หลักการสำคัญต่อไปนี้
3.2.1 แนวการจัดการเรียนการสอน
1) ต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตามมาตรา 22
2) ต้องยึดถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
3) ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนแต่ละคนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติ และเต็มตาม
ศักยภาพ
4) ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และส่งเสริมการเรียนรู้
บูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละช่วงวัยการศึกษา
3.2.2 แนวการจัดกระบวนการเรียนรู้
1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัด
ของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
2) ฝึกฝนทักษะการคิด กระบวนการคิด การจัดการเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์
ใช้ความรู้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาของตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้
3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้คิดเป็น ทำเป็น
แก้ปัญหาเป็น เกิดนิสัยรักการอ่าน และการใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่อง
4) จัดการเรียนการสอน โดยผสมผสานสาระการเรียนรู้ด้านต่างๆ ให้สมดุลกัน และมุ่ง
ปลูกฝังคุณธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ไว้ทุกรายวิชา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น